ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

PwC เผยมาตรฐานการบัญชีและเทคโนโลยีเกิดใหม่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว แนะนักบัญชีและผู้สอบบัญชีเตรียมรับมือ


กรุงเทพฯ, 18 ตุลาคม 2560 – PwC ประเทศไทย เผยเทคโนโลยีเข้ามามีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจและการจัดทำรายงานทางการเงิน โดยเทคโนโลยี ระบบอัตโนมัติ (Robotic Process Automation) และเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล (Analytical tools) จะถูกนำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการรายงานทางการเงิน พร้อมแนะนักบัญชีและผู้บริหารทำความเข้าใจมาตรฐานการบัญชีฉบับใหม่ เรื่องการรายงานรายได้ในการดำเนินธุรกิจของกิจการ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ และสัญญาเช่า เพื่อรู้ทันผลกระทบและสามารถรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นาย ชาญชัย ชัยประสิทธิ์ หุ้นส่วนสายงานตรวจสอบบัญชี บริษัท PwC ประเทศไทย กล่าวในงานสัมมนาประจำปี PwC Thailand Symposium 2017  ในหัวข้อ “รู้ทันการเปลี่ยนแปลง และเตรียมตัวรับมือความท้าทายทางบัญชีในยุคดิจิทัล” (Dealing with accounting challenges, thriving on disruption) ว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีอิทธิพลต่อลักษณะการทำธุรกิจและส่งผลให้การจัดทำรายงานทางการเงินเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ โดยหลายกิจการได้มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงานมากขึ้น อาทิ ระบบอัตโนมัติ (Robotic Process Automation) และเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล (Analytical tools) เป็นต้น
“เทคโนโลยีจะเข้ามาช่วยในการจัดทำบัญชี วิเคราะห์ ตรวจจับความผิดปกติของข้อมูล ช่วยลดการทำงานซ้ำๆ หรืองานประเภท Routine งานที่ใช้เวลาเยอะๆ หรือใช้การตัดสินใจน้อย แต่เทคโนโลยีจะยังไม่สามารถเข้ามาแทนที่การทำงานของนักบัญชีได้อย่างเต็มที่ เพราะความรับผิดชอบและความสามารถในการตัดสินใจที่ต้องอาศัยประสบการณ์ยังคงเป็นหัวใจหลักของการทำงานด้านบัญชีอยู่” นาย ชาญชัย กล่าว
นอกจากนี้ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ภายหลังจากเทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินกิจการและมีอิทธิพลต่อความต้องการของลูกค้า ทำให้การรายงานทางการเงินเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยได้มีการนำเสนอแนวคิดและหลักการใหม่ๆ เพื่อให้สะท้อนภาพที่แท้จริงของการดำเนินธุรกิจและรายการทางธุรกิจที่มีความซับซ้อนมากขึ้น และด้วยมุมมองที่มีความเที่ยงธรรมมากขึ้น ทั้งในส่วนของผลประกอบการของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นรายได้ หรือผลประกอบการด้านอื่นๆ
สำหรับมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น ได้แก่ การรายงานรายได้ในการดำเนินธุรกิจของกิจการ จากเดิมรายได้จะถูกรับรู้ตามหลักการโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนในสินค้าไปยังผู้ซื้อ แต่ของใหม่รายได้จะถูกรับรู้ตามหลักการการควบคุม โดยต้องสะท้อนถึงการโอนการควบคุมสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้า ด้วยจำนวนเงินที่สะท้อนถึงมูลค่าที่แท้จริงของสินค้าหรือบริการที่ได้ทำการโอนไปแล้ว เพื่อให้เกิดการเข้าใจได้และการเปรียบเทียบกันได้ของงบการเงิน
ในส่วนของค่าเผื่อการด้อยค่าของลูกหนี้ (ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ) ก็จะเปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน โดยในอนาคตจะถูกกำหนดให้รับรู้เร็วขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับแนวทางปฏิบัติในปัจจุบัน โดยกิจการต้องมีการประมาณการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น ณ ขณะที่มีการรับรู้รายการลูกหนี้ตั้งแต่เริ่มแรก โดยจะต้องพิจารณาร่วมกับข้อมูลที่เป็นการคาดการณ์ไปยังอนาคต (Forward-looking information) เช่น ข้อมูลสภาวะเศรษฐกิจ ณ ปัจจุบัน หรืออัตราการว่างงาน เพื่อพิจารณาบันทึกค่าเผื่อการด้อยค่าของลูกหนี้ด้วย ดังนั้น จึงคาดการณ์ได้ว่า จะมีการรับรู้ค่าเผื่อการด้อยค่าของลูกหนี้ที่เร็วขึ้นและรับรู้ด้วยจำนวนเงินที่สูงขึ้น
นอกจากนี้ การจัดทำงบการเงินเกี่ยวกับสัญญาเช่า ด้านผู้เช่าก็จะมีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน จากเดิมกำหนดให้กิจการต้องจัดประเภทสัญญาเช่า ระหว่างสัญญาเช่าการเงินและสัญญาเช่าดำเนินงานซึ่งมีวิธีการทางบัญชีที่แตกต่างกัน แต่ของใหม่ไม่มีการจัดประเภทสัญญาเช่าอีกต่อไป และจะต้องรายงานตามข้อกำหนดที่ให้แสดงหนี้สินตามสัญญาเช่าในงบการแสดงฐานะการเงินของผู้เช่า  จึงคาดการณ์ได้ว่า หนี้สินที่เกิดจากสัญญาเช่าจะเพิ่มขึ้นมา และส่งผลกระทบอย่างเป็นสาระสำคัญต่ออัตราส่วนทางการเงินของหลายกิจการ เช่น ทำให้อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (Return on Asset: ROA) ลดลง และมีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Debt to Equity ratio: D/E ratio) เพิ่มขึ้น เป็นต้น
“จะเห็นได้ว่า พัฒนาการทางการบัญชีที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้สะท้อนกับผลการดำเนินงานที่แท้จริงของธุรกิจที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้นนี้ ทำให้นักบัญชีต้องเร่งศึกษา ทำความเข้าใจ และตามมาตรฐานเหล่านี้ให้ทัน ยิ่งไปกว่านั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องเร่งสร้างนักบัญชีที่มีความรู้ ความสามารถเพียงพอกับความต้องการของตลาด นอกจากนี้ กิจการที่มีหุ้นซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ยังจำเป็นต้องพิจารณาถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อรายงานทางการเงินของกิจการ และทำการสื่อสารข้อมูลเหล่านี้ให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องภายนอกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงในการรายงานตัวเลขรายได้ และผลการดำเนินงานอื่นๆ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สร้างความไว้วางใจ และความเชื่อมั่นต่อบริษัทในการรับมือกับความท้าทายต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น”
นาย ชาญชัย กล่าวต่อว่า ด้วยความที่ปัจจุบันปริมาณของข้อมูลมีจำนวนมากมายมหาศาลและรายการมีความซับซ้อนมากขึ้น ผู้บริหารจึงจำเป็นที่จะต้องมีความเข้าใจและเลือกวิธีการจัดการที่เหมาะสมกับสภาพกิจการ รวมทั้งการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ อาทิ ระบบอัตโนมัติ (Robotic Process Automation) และเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล (Analytical tools) ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถเก็บรักษาข้อมูลที่สำคัญ เพื่อวัตถุประสงค์ในการรายงานทางการเงินได้ ในขณะเดียวกัน ก็สามารถจัดทำข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจได้อย่างทันเวลา ซึ่งทั้งหมดจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถจัดการกับความท้าทายดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากขึ้น
อย่างไรก็ดี แม้ว่าความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะเป็นสิ่งสำคัญ แต่ความรวดเร็วในการตัดสินใจในการรับมือและจัดการกับความเปลี่ยนแปลงก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพราะจะช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับกิจการที่มีความยืดหยุ่นและปรับตัวได้ทันกับสถานการณ์มากกว่า

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมกับ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมจัดมอบรางวัล "Bai Po Business Awards by Sasin ครั้งที่ 12

ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมกับ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมจัดมอบรางวัล "Bai Po Business Awards by Sasin ครั้งที่ 12 เพื่อยกย่องผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยที่สร้างและพัฒนาธุรกิจได้อย่างโดดเด่นในมิติต่างๆ   นางพิกุล ศรีมหันต์ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุดลูกค้าธุรกิจขนาดย่อมและสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมเสวนากับผู้ได้รางวัลทั้ง 5 ท่านในหัวข้อ "SMEs Step Up for Thailand 4.0" ได้แก่ นายสาธิต ก่อกูลเกียรติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เพมโก้ อินเตอร์ไลท์ จำกัด  นายสุรเดช นิลเอก กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรอปิคานา ออยล์ จำกัด นายทรงยศ คันธมานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เรดดี้แพลนเน็ต จำกัด นายพิชเยนทร์ หงษ์ภักดี ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สมาร์ท ไอดี กรุ๊ป จำกัด นายสุจินต์ ทรัพย์ล้อม ประธานกรรมการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจ แอนด์ เจ แวร์เฮ้าส์ แอนด์ เซอร์วิส             แสดงวิสัยทัศน์หัวข้อ "SMEs Step Up for Thailand 4.0" โดย นายแพทย์วีรฉัตร กิตติรัตนไพบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ...

" บบส. ไนท คลับ แคปปิตอล จำกัด ลงนามเซ็นสัญญารับมอบสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจาก ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) "

คุณทวี กุลเลิศประเสริฐ (ที่ 4 จากขวา) กรรมการผู้จัดการบริษัท  บริหารสินทรัพย์  ไนท คลับ  แคปปิตอล  จำกัด ลงนามเซ็นสัญญารับมอบสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของกิจการขนาดใหญ่และขนาดกลางมูลค่าทางบัญชี 661 ล้านบาท กับธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ  TMB   โดยมีคุณเฉิดประภา ฉลาดสุนทรวาที (ที่ 3 จากซ้าย) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ฯฝ่ายพัฒนาสินทรัพย์ และคุณระบิล  พรพัฒน์ กุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ฯฝ่ายบริหารความเสี่ยง ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนามรับมอบสัญญาซื้อขายเมื่อเร็วๆนี้

ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย เปิดตัวกองทุนรวมในต่างประเทศสำหรับลูกค้าธนบดี

ธนาคารพาณิชย์รายแรกนำเสนอบริการการซื้อขายกองทุนรวมในต่างประเทศ สำหรับลูกค้า ธนบดี   กรุงเทพฯ  –  ธนาคาร ซิตี้ แบงก์   เปิดตัวบริการ การ ซื้อขายกองทุน รวม ใน ต่างประเทศ เป็นครั้งแรกในประเทศไทย  สำหรับลูกค้า ธนบดี ที่ต้องการบริหารจัดการความมั่งคั่ง  และ เพิ่มโอกาสการกระจายความเสี่ยงของการลงทุน ให้เหมาะ สม กับวัตถุประสงค์ของลูกค้า  เพื่อโอกาสได้รับ ผลตอบแทน ตามเป้าหมายที่กำหนด   โดย บริการ การ ซื้อขายกองทุน รวม ใน ต่างประเทศ นี้ จะทำให้ลูกค้า ได้ รับรู้สถานการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของ ประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ทั่วโลก  และโอกาสในการลงทุน ในสินทรัพย์ หลาก หลายประเภท  ในหลายสกุลเงิน  รวมไปถึงการลงทุนในบริษัทชั้นนำระดับโลก ซึ่งเป็นบริการ สำหรับ       นักลงทุนรายย่อยผ่านธนาคารซิตี้ แบงก์ เป็นรายแรก   ในเบื้องต้น  ธนาคาร ซิตี้ แบงก์  ประเทศไทยได้ร่วมมือกับตัวแทน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ที่เข้าร่วมในบริการการซื้อขายกองทุนรวมในต่างประเทศนี้ ทั้งหมด  5  ราย ได้แก่ แบล็คร็อค ...