ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมาสเตอร์การ์ด ชี้ความเชื่อมั่นด้านรายได้ของไทยอยู่ในเกณฑ์ดี


- ตลาดหุ้นขาขึ้น ฉุดความเชื่อมั่นผู้บริโภคทั่วเอเชียแปซิฟิกขึ้นตาม

 

กรุงเทพฯ (22 สิงหาคม 2560)  ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมาสเตอร์การ์ด (Mastercard Index of Consumer Confidence) ที่ได้รับการเปิดเผยในวันนี้ ชี้ให้เห็นว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิกยังคงอยู่ในเกณฑ์ดีที่ 66.9 จุด เป็นการปรับขึ้นมาเล็กน้อยจากระดับ 62.7 จุดของเมื่อหกเดือนที่แล้ว คะแนนความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นมา 4.2 จุดนี้ส่วนใหญ่เป็นผลพวงมาจากแนวโน้มที่อยู่ในช่วงขาขึ้นของตลาดหุ้นและภาวะการจ้างงาน โดยสูงขึ้น 7.3จุด และ 5.1 จุด ตามลำดับ ทั้งนี้ ผู้บริโภคในตลาดเอเชียแปซิฟิกจำนวนถึง 11 ประเทศจากทั้งสิ้น 18ประเทศ ยังคงมีความเห็นไม่แตกต่างจากการสำรวจครั้งก่อนมากนัก (+/- ไม่เกิน จุด) อนึ่ง ดัชนีนี้รวมถึงรายงานอ้างอิงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องไม่สามารถใช้เป็นเครื่องชี้วัดผลประกอบการทางการเงินของมาสเตอร์การ์ดได้ 

 

ทั้งนี้ ผู้บริโภคในประเทศไทยมีความเชื่อมั่นอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะความเชื่อมั่นด้านรายได้ โดยผู้บริโภคชาวไทยเชื่อมั่นว่า ในช่วง เดือนข้างหน้าจะได้รับรายได้ประจำและผลตอบแทนจากการทำงานเพิ่มขึ้น

 

เกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีการปรับตัวของความเชื่อมั่นผู้บริโภคสูงที่สุดในเอเชียแปซิฟิก เนื่องจากประชากรมีความคาดหวังสูงมากว่าเศรษฐกิจของประเทศกำลังไปได้ดี กระตุ้นให้ความเชื่อมั่นของเกาหลีใต้อยู่ในระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ พศ. 2538 และผลักดันให้เกาหลีใต้กระโดดข้ามจากการอยู่ในกลุ่มเกณฑ์ความเชื่อมั่นต่ำมาอยู่ในกลุ่มเกณฑ์ความเชื่อมั่นสูงมากได้ภายในช่วงระยะเวลาเพียงหกเดือน เช่นเดียวกับสิงคโปร์และมาเลเซียที่มีการปรับระดับความความเชื่อมั่นสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเช่นกัน 

 

ในขณะเดียวกัน อินเดียเป็นตลาดที่มีระดับความเชื่อมั่นลดลง มากที่สุดในภูมิภาค โดยมีคะแนนต่ำลงถึง 9.3 จุด แม้ว่าจะยังคงอยู่ในกลุ่มเกณฑ์ความเชื่อมั่นสูงมากด้วยคะแนน 86.0 จุดก็ตาม เช่นเดียวกับพม่าที่มีระดับคะแนนความเชื่อมั่นลดลงเล็กน้อย (ลดลง จุด) ซึ่งจากการสำรวจของดัชนีมาสเตอร์การ์ดพบว่า ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ระดับความเชื่อมั่นทั้งในอินเดียและพม่าลดลงก็คือทัศนคติที่แย่ลงในเรื่องคุณภาพชีวิต  

 

ช่วงระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน พศ. 2560ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวนทั้งสิ้น 9,153 ราย ที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 64 ปีจาก 18 ประเทศในเอเชียแปซิฟิกได้รับการสอบถามให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับมุมมองทางเศรษฐกิจห้าประการในอีกหกเดือนข้างหน้า อันได้แก่ สภาพเศรษฐกิจ โอกาสในการหางานทำ โอกาสในการสร้างรายได้ที่มั่นคง ภาวะตลาดหุ้น และคุณภาพชีวิต โดยดัชนีนี้ได้มาจากการคำนวนระดับคะแนนตั้งแต่ ถึง 100 โดยที่ 0 หมายถึง รู้สึกแย่ที่สุด และ 100 หมายถึงรู้สึกดีที่สุด ส่วนคะแนนระหว่าง 40 ถึง 60 จัดอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง 

 

วิธีการวิจัย

ผู้ตอบแบบสำรวจต้องตอบคำถามห้าข้อ เพื่อแสดงความคิดเห็นของพวกเขาเกี่ยวกับการคาดการณ์ในอีกหกเดือนข้างหน้าในเรื่องสภาพเศรษฐกิจ โอกาสในการหางานทำ ภาวะตลาดหุ้นในประเทศ โอกาสในการสร้างรายได้ที่มั่นคง และคุณภาพชีวิตของพวกเขา คำตอบทั้งหมดที่ได้รับจะถูกแปลงให้เป็นดัชนีห้าประการที่จะนำมาหาค่าเฉลี่ยเพื่อสร้างดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมาสเตอร์การ์ด (Mastercard Indexof Consumer Confidence, MICC) โดยดัชนี MICC และดัชนีประกอบทั้งห้ารายการนั้นจะมีคะแนนตั้งแต่ 0 – 100 โดยที่ หมายถึงระดับความเชื่อมั่นที่แย่ที่สุด 100 หมายถึงระดับความเชื่อมั่นที่ดีมากที่สุด และ 50 หมายถึงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับปานกลาง

 

เกี่ยวกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมาสเตอร์การ์ด

การสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมาสเตอร์การ์ด (Mastercard Index™ of Consumer Confidence) มีมายาวนานถึง 20 ปี เป็นผลมาจากการเก็บรวบรวมข้อมูลสัมภาษณ์กว่า 200,000 ราย จึงถือได้ว่าเป็นงานสำรวจวิจัยที่ไม่มีใครเทียบชั้นได้ ทั้งในแง่ของขนาดข้อมูล และระยะเวลาในการสะสมข้อมูลที่ครอบคลุมทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 

 

การสำรวจนี้มีมายาวนานที่สุดและมีความครอบคลุมที่สุดเมื่อเทียบกับการสำรวจรูปแบบเดียวกันในภูมิภาคนี้ โดยในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 ดัชนีนี้ได้เผยให้เห็นถึงระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับลดลง ซึ่งเป็นเวลาเพียงหนึ่งเดือนก่อนที่ค่าเงินบาทจะอ่อนตัว จนเกิดเป็นภาวะวิกฤติเศรษฐกิจในภูมิภาคในลำดับถัดมา และอีกครั้งในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546 ที่ดัชนีนี้ได้ชี้ให้เห็นว่าความเชื่อมั่นด้านภาวะการจ้างงานในฮ่องกงนั้นมีระดับคะแนนลดต่ำลงเหลือเพียง 20.0 ซึ่งต่อมาได้สะท้อนให้เห็นถึงอัตราการว่างงานของฮ่องกงที่พุ่งขึ้นถึงจุดสูงสุดที่ระดับ 8%ในเดือนกันยายนของปีเดียวกัน 

 

การสำรวจนี้เริ่มขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2536และได้ถูกจัดทำเรื่อยมาตลอดนับแต่บัดนั้น โดยจะแสดงผลปีละสองครั้ง ปัจจุบันมีตลาด (ประเทศ) ในเอเชียแปซิฟิกที่อยู่ภายใต้การสำรวจจำนวนถึง 18แห่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย บังคลาเทศ กัมพูชา จีน ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย พม่า นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ศรีลังกา ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม

 

มาสเตอร์การ์ดและชุดผลสำรวจต่างๆ

มาสเตอร์การ์ดจัดทำดัชนีผลสำรวจมากมายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อาทิ MasterCard Index of Consumer Confidence ที่มีมายาวนาน รวมถึง MasterCard Index of Women’s AdvancementMasterCard Index of Financial Literacy และ MasterCard Index of Global Destination Citiesนอกจากดัชนีต่างๆเหล่านี้แล้ว งานวิจัยของมาสเตอร์การ์ดยังรวมถึงการสำรวจผู้บริโภคต่างๆอย่างหลากหลาย อาทิ Online ShoppingEthical Spending และการสำรวจมากมายด้านการจัดลำดับปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อของผู้บริโภค (ครอบคลุมถึงเรื่องท่องเที่ยว อาหาร & สิ่งบันเทิง การศึกษา การบริหารทางการเงิน สินค้าฟุ่มเฟือย และการจับจ่ายใช้สอยทั่วไป

 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมกับ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมจัดมอบรางวัล "Bai Po Business Awards by Sasin ครั้งที่ 12

ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมกับ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมจัดมอบรางวัล "Bai Po Business Awards by Sasin ครั้งที่ 12 เพื่อยกย่องผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยที่สร้างและพัฒนาธุรกิจได้อย่างโดดเด่นในมิติต่างๆ   นางพิกุล ศรีมหันต์ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุดลูกค้าธุรกิจขนาดย่อมและสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมเสวนากับผู้ได้รางวัลทั้ง 5 ท่านในหัวข้อ "SMEs Step Up for Thailand 4.0" ได้แก่ นายสาธิต ก่อกูลเกียรติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เพมโก้ อินเตอร์ไลท์ จำกัด  นายสุรเดช นิลเอก กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรอปิคานา ออยล์ จำกัด นายทรงยศ คันธมานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เรดดี้แพลนเน็ต จำกัด นายพิชเยนทร์ หงษ์ภักดี ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สมาร์ท ไอดี กรุ๊ป จำกัด นายสุจินต์ ทรัพย์ล้อม ประธานกรรมการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจ แอนด์ เจ แวร์เฮ้าส์ แอนด์ เซอร์วิส             แสดงวิสัยทัศน์หัวข้อ "SMEs Step Up for Thailand 4.0" โดย นายแพทย์วีรฉัตร กิตติรัตนไพบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ...

" บบส. ไนท คลับ แคปปิตอล จำกัด ลงนามเซ็นสัญญารับมอบสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจาก ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) "

คุณทวี กุลเลิศประเสริฐ (ที่ 4 จากขวา) กรรมการผู้จัดการบริษัท  บริหารสินทรัพย์  ไนท คลับ  แคปปิตอล  จำกัด ลงนามเซ็นสัญญารับมอบสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของกิจการขนาดใหญ่และขนาดกลางมูลค่าทางบัญชี 661 ล้านบาท กับธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ  TMB   โดยมีคุณเฉิดประภา ฉลาดสุนทรวาที (ที่ 3 จากซ้าย) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ฯฝ่ายพัฒนาสินทรัพย์ และคุณระบิล  พรพัฒน์ กุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ฯฝ่ายบริหารความเสี่ยง ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนามรับมอบสัญญาซื้อขายเมื่อเร็วๆนี้

ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย เปิดตัวกองทุนรวมในต่างประเทศสำหรับลูกค้าธนบดี

ธนาคารพาณิชย์รายแรกนำเสนอบริการการซื้อขายกองทุนรวมในต่างประเทศ สำหรับลูกค้า ธนบดี   กรุงเทพฯ  –  ธนาคาร ซิตี้ แบงก์   เปิดตัวบริการ การ ซื้อขายกองทุน รวม ใน ต่างประเทศ เป็นครั้งแรกในประเทศไทย  สำหรับลูกค้า ธนบดี ที่ต้องการบริหารจัดการความมั่งคั่ง  และ เพิ่มโอกาสการกระจายความเสี่ยงของการลงทุน ให้เหมาะ สม กับวัตถุประสงค์ของลูกค้า  เพื่อโอกาสได้รับ ผลตอบแทน ตามเป้าหมายที่กำหนด   โดย บริการ การ ซื้อขายกองทุน รวม ใน ต่างประเทศ นี้ จะทำให้ลูกค้า ได้ รับรู้สถานการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของ ประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ทั่วโลก  และโอกาสในการลงทุน ในสินทรัพย์ หลาก หลายประเภท  ในหลายสกุลเงิน  รวมไปถึงการลงทุนในบริษัทชั้นนำระดับโลก ซึ่งเป็นบริการ สำหรับ       นักลงทุนรายย่อยผ่านธนาคารซิตี้ แบงก์ เป็นรายแรก   ในเบื้องต้น  ธนาคาร ซิตี้ แบงก์  ประเทศไทยได้ร่วมมือกับตัวแทน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ที่เข้าร่วมในบริการการซื้อขายกองทุนรวมในต่างประเทศนี้ ทั้งหมด  5  ราย ได้แก่ แบล็คร็อค ...